วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

8 มีนาคม 2562 


อาจารย์ได้พูดคุยอธิบายเกี่ยวกับสื่อทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 2-3 คน เพื่อทำสื่อการเรียนการสอน กลุ่มของดิฉันได้ตราชั่งสองแขน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 



                พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
              พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
กิจกรรมถัดไป
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีมาให้เลือก
แต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่องตัวเลข
กลุ่มที่ 2 จำนวน
กลุ่มที่ 3 การวัด
กลุ่มที่ 4 กราฟแท่ง
กลุ่มที่ 5 กราฟเส้น
กลุ่มที่ 6 ความสัมพันธ์สองแกน
กลุ่มที่ 7 คานดีดจากไม้ไอติม
กลุ่มที่ 8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ
คำศัพท์
1. Review               การทบทวน
2.Sensori                ประสาทรับรู้
3.Absorbing       การซึมซับ
4.Recognition      การรับรู้
5. Formal Operational    ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
6.Opposition                  ตรงกันข้าม
7.Assimilation                ซึมซับ
8.Accommodation          ปรับและจัดระบบ
9. Equilibration              ความสมดุล
10. Development         พัฒนาการ

การประเมิน
ประเมินตนเอง  กระตือรือร้นในการหาชิ้นงานดี สนใจฟังอาจารย์สอน                      
ประเมิณเพื่อน  ฟังและสนใจในการสอนของอาจารย์ดี
 ประเมินอาจารย์  ให้ำปรึกษาและสนใจนักศึกษาดีพยายามมอบความรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น