วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่1

12 มกราคม 2562


⛤บทความ ⛤
                       ✡️คณิตศาสตร์สำหรับเด็กวิธีง่ายๆ ให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์แบบที่ใครก็ทำได้
สรุปบทความ
      การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้เด็กนั้นผู้ปกครองต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมการให้ดี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การนับตัวเลข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป
      การที่เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้แบบเข้าใจง่ายผู้ปกครองต้องใช้สื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติและเวลา เด็กต้องเริ่มเข้าใจในสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่ผู้ปกครองหรือครูต้องพยายามทำให้เด็กเข้าใจ แต่มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ด้วยการท่อง 1-10 หรือเขียนตัวเลขได้แต่ไม่เข้าใจเรื่องจำนวน การทำซ้ำ ๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวของจริงให้เด็กนับจับคู่ตัวเลขโดยให้เด็กทำบ่อย ๆ จนเกิดความแม่นยำจะจดจำได้นาน ซึ่งผู้ปกครองทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
      ผู้ปกครองสามารถใช้บัตรภาพจำนวนพร้อมมีตัวเลขกำกับ ใช้วิธีเดิมค่ะ คือติดตามฝาผนัง ขั้นบันได เมื่อเวลาเด็กก้าวขึ้น-ลง บันไดเมื่อเห็นสัญลักษณ์หรือภาพตามขั้นบันได เด็กก็จะนับทั้งแบบเรียงลำดับและนับแบบถอยหลัง เช่น 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 เมื่อเราเริ่มจากง่าย ๆ เด็กก็จะเข้าใจในเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่อย ๆ เพิ่มความยากให้เด็กตามลำดับก็จะเรียนรู้ในเรื่อง การสังเกต เปรียบเทียบ มากกว่า-น้อยกว่า สั้น-ยาว สูง-ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับเพิ่ม-ลด ปริมาตรมาก-น้อย ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เพื่อเด็กจะได้สามารถเรียนรู้และค้นหาความรู้ จากประสาทสัมผัส เช่นการหยิบจับ สัมผัส ถือ ปริมาณของจำนวนใดจำนวนหนึ่ง 
ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youngciety.com/article/learning/mathematical-fun.html

สรุปวิจัย
ทักษะพื้นทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์บอกปฏิบัติการยุทธศาสตร์การเปรียบเทียบสูงกว่าเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติดังนั้นในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางทันตศาสตร์ให้แก่เด็กประถมวัยครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมอะไรซึ่งครูสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมโดยเฉพาะวิธีการจัดการมีกิจกรรมผสมผสานระหว่างแบบอภิปรายสาธิตแบบเล่นเกมส์แบบปฏิบัติการทดลองแต่การจัดประสบการณ์ที่ไปจะได้ปลุกการเปรียบเทียบรูปทรงและนับจำนวนผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าประการเรียนรู้ในคราวเดียวกันก็คือการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพราะเด็กชอบที่จะลงมือในการประกอบอาหาร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1.ทำให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้แปดถึงความสำคัญของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยโดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก 2.ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ


⛤สื่อคณิตศาสตร์ ⛤

นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยี



คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆ ดังนี้
  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. การนับ
  7. การรู้จักตัวเลข
 1.การจำแนกประเภท
    การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน 

 2.การจัดหมวดหมู่    
    การจัดหมวดหมู่ คือ การรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือความคิด โดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้น แล้วนำสิ่งที่เหมือนกันมารวมกันและแยกสิ่งที่ต่างกันออกไป


 3.การเรียงลำดับ    การเรียงลำดับ คือ การจัดเรียงข้อมูลให้มีการเรียงลำดับตามความต้องการ โดยจะเป็นการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย จากต่ำไปหาสูง หรือจากสูงไปหาต่ำ  



 4.การเปรียบเทียบ 
 5.รูปร่างและรูปทรง  

 5.การนับ
    การนับ คือ การกระทำทางคณิตศาสตร์โดยใช้การบวกหรือการลบด้วยหนึ่งซ้ำๆ กัน ซึ่งมักใช้ในการหาคำตอบว่ามีวัตถุอยู่เท่าใด หรือเพื่อกำหนดจำนวนวัตถุที่ต้องการ โดยเริ่มจากหนึ่งสำหรับวัตถุ  ชิ้นแรกและกระทำต่อไปบนวัตถุที่เหลือ 

 6.การรู้จักตัวเลข
  
 ตัวอย่างการสอนให้เด็กเรียนรู้ตัวเลขอารบิค 1 - 10
ดูเพิ่มเติมได้ที่http://technology2556.blogspot.com/2013/01/blog-post.html


⛤ตัวอย่างการสอน ⛤


สรุปตัวอย่างการสอน : เป็นการจับคู่ตัวเลขกับสิ่งของต่างๆเพื่อให้เด็กมีกระบวนการทางความคิดเพิ่มมากขึ้น

                        อ้างอิง : สาขาปฐมวัย สสวท.


เกมส์สำหรับรับเด็กปฐมวัย


https://www.youtube.com/watch?v=3wZIz2cM3Q8



สรุปเกมส์ : เป็นการนำสื่อมาเกี่ยวข้องกับการคิดเพื่อให้เด็กมีทักษะการคิดเพิ่มมากขึ้น
นิทานตัวเลข 
สรุปนิทาน : นิทานสามารถที่จะช่วยกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกระบวนการคิดทำให้เด็กสมารถที่จะคิดเป็นระบบ 
เพลงเด็กนับเลข
                               
https://www.youtube.com/watch?v=kQGSof8cjLw

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น