วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

3 พฤษภาคม 2562 


คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญและเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ศาสตร์อื่น ๆ 
การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล 
และใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

ทักษะพื้ในคาบเรียนนี้อาจารย์ สอนทำมายแม็บ 

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร
 จึงสามารถจัดประเภทได้
การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ
 และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ
เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ
รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม
 สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว
พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ
เรียนรู้หน่วยปริมาตรการชั่ง

การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว 
และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ 
ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน
การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับ
อย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
 ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง
โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน
จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ
 มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม
 และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น
เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง
 เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ
การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ
 เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก
ในคาบเรียนนี้อาจารย์ สอนทำแผนผังความคิด เรื่องไก่ 


บรรยากาศในห้องเรียน



อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำแผ่นผับ โดยหน่วยที่ดิฉันเลือกทำคือ "กล้วย"






ปิดคอร์สแล้วจ้า สำหรับการเรียนของวิชานี้ 

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

22 มีนาคม 2562 


นำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์ 
กลุ่มของดิฉันคือ ตราชั่งสองแขน 

อุปกรณ์
1.กระดาษลัง
2.กระดาษสี
3. กาว
4.กรรไกร
5.คัตเตอร์
6.ก้านลูกโป่ง
7.หมุดยึดก้านลูกโป่ง
8.สติ๊กเกอร์ใส

วิธีทำ
1.ตัดกระดาษลังให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 3 แผ่นแล้วนำมาทากาวประกบกัน
2.ตัดกระดาษลังให้เป็นสามเหลี่ยมจำนวน 2 แผ่นนำมาทากาวประกบเหมือนอันแรกเพื่อนำมาทำเป็นแกนยึด
3.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้เป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อนำมาทำเป็นตัวโยกของตาชั่ง
4.ห่อกระดาษสีและติดสติ๊กเกอร์ใสกระดาษลังที่ตัดไว้ทั้งหมด
5.เจาะรูฟิวเจอร์บอร์ด
6.นำก้านลูกโป่งมาใส่เพื่อทำเป็นเฟืองของตาชั่งแล้วนำหมุดมายึดก้านลูกโป่งไว้



คำศัพท์

1. Train                กำหนด
2. Comment        แสดงความคิดเห็น
3.Reason              เหตุผล
4. Observance     การสังเกต
5. Listening          รับฟัง
6. Objective          วัตถุประสงค์
7. Relationship     ความสัมพันธ์
8. Creativity         ความคิดสร้างสรรค์
9. Line graph        กราฟเส้น
10. ฺBar graph       กราฟแท่ง

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจทงานที่ได้รับมอบหมายดี
ประเมินเพื่อน   เพื่อนจั้งใจนำเสนอชิ้นงาน
 ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีคำแนะนำดีๆให้นักศึกษา

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

15  มีนาคม 2562 


วันนี้อาจารย์ให้ไปเอาอุปกรณ์มาทำงานเพราะว่าอุปกรณ์บางชิ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไม่มี ทุกคนในกลุ่มช่วยกันสร้างชิ้นงาน
รูปภาพกิจกรรม








บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

13 มีนาคม 2562


วันนี้อาจารย์ได้นัดให้นักศึกษาทุกคนมาพร้อมกันทั้ง 2 เซค เพื่อมารับอุปกรณ์ในการทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับสอนเด็กปฐมวัย

คำศัพท์ 

1. Equipment          อุปกรณ์

2. Plan                      การวางแผน

3. Step                       ขั้นตอน

4. Scissors                กรรไกร

5. Method                 วิธีทำ

6. Sticker                  สติกเกอร์

7. Box                        กล่อง

8. Chemical pen      ปากกาเคมี

9. Ruler                    ไม้บรรทัด

10. Paper                  กระดาษ


การประเมิน

ประเมินตนเอง  ได้มีการเตรียมความพร้อมในการจดบันทึกสิ่งที่ใช้ในการทำสื่อคณิตศาสตร์และสนใจเมื่ออาจารย์พูด
ประเมินเพื่อน มั่วกันไปหน่อยเพราะเรียนรวมเยอะ
 ประเมินอาจารย์  อาจารย์มอบสิ่งดีๆให้นักศึกษาพยายามหาสิ่งของที่นักศึกษาต้องใช้เพื่อให้นักศึกษามีอุปกรณ์ในการทำงาน

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

8 มีนาคม 2562 


อาจารย์ได้พูดคุยอธิบายเกี่ยวกับสื่อทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 2-3 คน เพื่อทำสื่อการเรียนการสอน กลุ่มของดิฉันได้ตราชั่งสองแขน

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ 



                พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
              พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
กิจกรรมถัดไป
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีมาให้เลือก
แต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่องตัวเลข
กลุ่มที่ 2 จำนวน
กลุ่มที่ 3 การวัด
กลุ่มที่ 4 กราฟแท่ง
กลุ่มที่ 5 กราฟเส้น
กลุ่มที่ 6 ความสัมพันธ์สองแกน
กลุ่มที่ 7 คานดีดจากไม้ไอติม
กลุ่มที่ 8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ
คำศัพท์
1. Review               การทบทวน
2.Sensori                ประสาทรับรู้
3.Absorbing       การซึมซับ
4.Recognition      การรับรู้
5. Formal Operational    ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
6.Opposition                  ตรงกันข้าม
7.Assimilation                ซึมซับ
8.Accommodation          ปรับและจัดระบบ
9. Equilibration              ความสมดุล
10. Development         พัฒนาการ

การประเมิน
ประเมินตนเอง  กระตือรือร้นในการหาชิ้นงานดี สนใจฟังอาจารย์สอน                      
ประเมิณเพื่อน  ฟังและสนใจในการสอนของอาจารย์ดี
 ประเมินอาจารย์  ให้ำปรึกษาและสนใจนักศึกษาดีพยายามมอบความรู้

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562


คาบเรียนนี้อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอ Mind Mapping ที่ได้ทำในสัปดาห์ที่แล้ว




กิจกรรมที่ 2 
ออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ

ออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ


กิจกรรมที่ 3

การออกแบบป้ายชื่อตนเอง 

คำศัพท์
1.Geometry               รูปทรงเรขาคณิต
2.importance             ความสำคัญ
3. standard                มาตรฐาน
4.compare                 เปรียบเทียบ
5.Toothpick                ไม้จิ้มฟัน
6.Geometry               รูปทรงเรขาคณิต
7. Plan                      การวางแผน
8.square                   สี่เหลี่ยมจัตุรัส
9. paper                    กระดาษ
10. importance           ความสำคัญ

ประเมิณประเมินตนเอง ตั้งใจ และ สนใจฟังเวลาเพื่อนนำเสนอ
ประเมินเพื่อนในห้อง เพื่อนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเพื่อนๆและอาจารย์ 
ประเมินอาจารย์
 อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจอธิบายเพิ่มเติมให้นักศึกษาเข้าใจได้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
15 กุมภาพันธ์ 2562

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเข้าชมนิทรรศการของพี่ปี 5  ให้ดูสื่อต่างๆที่พี่ๆได้จัดเตรียมนำเสนอ  ในการทำกิจกรรมไม่ว่าการจัดระสบการณ์ชั้นเรียน  ยกตัวอย่างเช่น
โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย
        การจัดการเรียนการสอนรูปแบบโครงการซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา
โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักค่านิยม  12 ประการ
        สิ่งที่ได้คือได้รู้ค่านิยมของคนไทย 12ประการ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กเช่น จิ๊กซอหรรษา  บันไดคุณธรรม ลูกเต๋ามหัศจรรย์ ศิลปะสร้างสรรค์เด็กมีคุณธรรม
การสอนแบบไฮสโคป
        การสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ(Active Learning)

คำศัพท์
 1.Classroom research   การวิจัยในชั้นเรียน
2.Absorbing                  การซึมซับ
3.Recognition               การรับรู้
4.Plan                          การวางแผน
5.Practice                    การปฎิบัติ
6.Review                     การทบทวน
7.Brain                        สมอง
8.Exhibition                 นิทรรศการ
9.Recognition             การรับรู้
10.New knowledge      ความรู้ใหม่

การประเมิน

ประเมินตนเอง    สนใจและกระตือรือร้นในการนำเสนอของพี่
ประเมินเพื่อน     เพื่อนมีความสนใจในกิจกรรมและตื่นเต้นในการนำเสนองาน
ประเมินอาจารย์   อาจารย์มอบสิ่งดีๆให้นักศึกษา