วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

3 พฤษภาคม 2562 


คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญและเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ศาสตร์อื่น ๆ 
การได้รับประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เด็กมีความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล 
และใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กต่อไป

ทักษะพื้ในคาบเรียนนี้อาจารย์ สอนทำมายแม็บ 

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร
 จึงสามารถจัดประเภทได้
การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ
 และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ
เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ
รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม
 สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว
พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ
เรียนรู้หน่วยปริมาตรการชั่ง

การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว 
และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ 
ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน
การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับ
อย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
 ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง
โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน
จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ
 มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม
 และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น
เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง
 เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ
การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ
 เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก
ในคาบเรียนนี้อาจารย์ สอนทำแผนผังความคิด เรื่องไก่ 


บรรยากาศในห้องเรียน



อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทำแผ่นผับ โดยหน่วยที่ดิฉันเลือกทำคือ "กล้วย"






ปิดคอร์สแล้วจ้า สำหรับการเรียนของวิชานี้ 

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

22 มีนาคม 2562 


นำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์ 
กลุ่มของดิฉันคือ ตราชั่งสองแขน 

อุปกรณ์
1.กระดาษลัง
2.กระดาษสี
3. กาว
4.กรรไกร
5.คัตเตอร์
6.ก้านลูกโป่ง
7.หมุดยึดก้านลูกโป่ง
8.สติ๊กเกอร์ใส

วิธีทำ
1.ตัดกระดาษลังให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 3 แผ่นแล้วนำมาทากาวประกบกัน
2.ตัดกระดาษลังให้เป็นสามเหลี่ยมจำนวน 2 แผ่นนำมาทากาวประกบเหมือนอันแรกเพื่อนำมาทำเป็นแกนยึด
3.ตัดฟิวเจอร์บอร์ดให้เป็นรูปสามเหลี่ยมเพื่อนำมาทำเป็นตัวโยกของตาชั่ง
4.ห่อกระดาษสีและติดสติ๊กเกอร์ใสกระดาษลังที่ตัดไว้ทั้งหมด
5.เจาะรูฟิวเจอร์บอร์ด
6.นำก้านลูกโป่งมาใส่เพื่อทำเป็นเฟืองของตาชั่งแล้วนำหมุดมายึดก้านลูกโป่งไว้



คำศัพท์

1. Train                กำหนด
2. Comment        แสดงความคิดเห็น
3.Reason              เหตุผล
4. Observance     การสังเกต
5. Listening          รับฟัง
6. Objective          วัตถุประสงค์
7. Relationship     ความสัมพันธ์
8. Creativity         ความคิดสร้างสรรค์
9. Line graph        กราฟเส้น
10. ฺBar graph       กราฟแท่ง

การประเมิน
ประเมินตนเอง  ตั้งใจทงานที่ได้รับมอบหมายดี
ประเมินเพื่อน   เพื่อนจั้งใจนำเสนอชิ้นงาน
 ประเมินอาจารย์  อาจารย์มีคำแนะนำดีๆให้นักศึกษา