วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

18 มกราคม 2562


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กปฐมวัย


การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์อธิบายรายละเอียดของรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อให้นักศึกษาได้รู้งานที่อาจารย์จะให้ทำในรายวิชานี้ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของรายวิชานี้คือ Blogger ของตนเอง ซึ่งแต่ละคาบจะต้องบันทึกลงทุกครั้ง และมีการจดคำศัพท์  10 คำ  มีการประเมินในห้องเรียน จากนั้นอาจารย์ได้พูดรายละเอียดของบล็อกซึ่งอาจารย์เปิดดูของแต่ละคนและได้บอกว่าควรไปปรับหรือแก้ไขตรงไหนบ้าง
สิ่งที่ต้องมี คือ  
1.ชื่อและคำอธิบายบล็อก  
2.รูปและข้อมูผู้เรียน
3.ปฎิทินและนาฬิกา  
4. เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน  
5.หน่วยงานสนับสนุน
6. แนวการสอน 
7.งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์  ห้ามเกิน  10 ปี 
8.บทความ ตัวอย่างการสอน สื่อคณิตศาสตร์  (เพลง,เกม,นิทาน) 
และต้องลิงก์ Blog ของเพื่อนไว้ทุกคน

กิจกรรมในห้องเรียน
Map 



อาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อที่จะทำ Map
เรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะลงมือทำอาจารย์ได้ให้ทุกคนคิดก่อนว่าสิ่งของในห้องเรียนมีอะไรบ้างที่เป็นคณิตศาสตร์ บอกคนละ 1 อย่าง เช่น ตู้   เพื่อน  กระดาน  หน้าต่าง กระถางต้นไม้ กล่อง  แอร์  ลูกบาส กรอบรูป  ประตู ลำโพง สิ่งของทุกอย่างเป็นคณิตศาสตร์       เก็บข้อมูล  →  สมอง   →   รับรู้/ซึมซับ อาจารย์ได้แยกออกมาเป็นอีก 3 หัวข้อ พัฒนาการ การทำงานของสมอง วิธีการทำให้เกิดการเรียนรู้ และอาจารย์ให้นักศึกษากลับไปค้นคว้าอีก 2 หัวข้อทำใส่กระดาษเป็น Map แล้วทำใส่ลง Blogger


คำศัพย์
1. mathematics                           คณิตศาสตร์
2. environment       สภาพแวดล้อม
3. Skills ทักษะ
4. Brain function                          การทำงานของสมอง
5. Nature                                    ลักษณะ
6.Learning by doing                     การเรียนรู้โดยการลงมือทำ
7. Experience                              ประสบการณ์
8. Learning                                 การเรียนรู้
9. Brain function                          การทํางานของสมอง 
10.Geometry                               เรขาคณิต

บรรยากาศในการเรียน



การประเมิน

ประเมินตนเอง    : เล่นบ้างฟังบ้าแต่พยายามดึงสติมาฟังอาจารย์

ประเมินเพื่อน     :  อาจจะมีเล่นบ้างคุยบ้างแต่ก็ตอบคำถามี่อาจารย์ถามอย่างดี

ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ มีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจอย่างที่ถูกให้เกิดทักษะการคิด



                        

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่1

12 มกราคม 2562


⛤บทความ ⛤
                       ✡️คณิตศาสตร์สำหรับเด็กวิธีง่ายๆ ให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์แบบที่ใครก็ทำได้
สรุปบทความ
      การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้เด็กนั้นผู้ปกครองต้องอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและต้องอาศัยการวางแผนและเตรียมการให้ดี เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องจำนวน การนับตัวเลข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป
      การที่เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้แบบเข้าใจง่ายผู้ปกครองต้องใช้สื่อที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติและเวลา เด็กต้องเริ่มเข้าใจในสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่ผู้ปกครองหรือครูต้องพยายามทำให้เด็กเข้าใจ แต่มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ด้วยการท่อง 1-10 หรือเขียนตัวเลขได้แต่ไม่เข้าใจเรื่องจำนวน การทำซ้ำ ๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัวของจริงให้เด็กนับจับคู่ตัวเลขโดยให้เด็กทำบ่อย ๆ จนเกิดความแม่นยำจะจดจำได้นาน ซึ่งผู้ปกครองทำเองได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
      ผู้ปกครองสามารถใช้บัตรภาพจำนวนพร้อมมีตัวเลขกำกับ ใช้วิธีเดิมค่ะ คือติดตามฝาผนัง ขั้นบันได เมื่อเวลาเด็กก้าวขึ้น-ลง บันไดเมื่อเห็นสัญลักษณ์หรือภาพตามขั้นบันได เด็กก็จะนับทั้งแบบเรียงลำดับและนับแบบถอยหลัง เช่น 9 8 7 6 5 4 3 2 1 0 เมื่อเราเริ่มจากง่าย ๆ เด็กก็จะเข้าใจในเรื่องจำนวนและตัวเลขแล้วค่อย ๆ เพิ่มความยากให้เด็กตามลำดับก็จะเรียนรู้ในเรื่อง การสังเกต เปรียบเทียบ มากกว่า-น้อยกว่า สั้น-ยาว สูง-ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับเพิ่ม-ลด ปริมาตรมาก-น้อย ซึ่งเรื่องพวกนี้สามารถอาศัยสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความรู้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เพื่อเด็กจะได้สามารถเรียนรู้และค้นหาความรู้ จากประสาทสัมผัส เช่นการหยิบจับ สัมผัส ถือ ปริมาณของจำนวนใดจำนวนหนึ่ง 
ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.youngciety.com/article/learning/mathematical-fun.html

สรุปวิจัย
ทักษะพื้นทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร
เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์บอกปฏิบัติการยุทธศาสตร์การเปรียบเทียบสูงกว่าเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติดังนั้นในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางทันตศาสตร์ให้แก่เด็กประถมวัยครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมอะไรซึ่งครูสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมโดยเฉพาะวิธีการจัดการมีกิจกรรมผสมผสานระหว่างแบบอภิปรายสาธิตแบบเล่นเกมส์แบบปฏิบัติการทดลองแต่การจัดประสบการณ์ที่ไปจะได้ปลุกการเปรียบเทียบรูปทรงและนับจำนวนผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าประการเรียนรู้ในคราวเดียวกันก็คือการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพราะเด็กชอบที่จะลงมือในการประกอบอาหาร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1.ทำให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้แปดถึงความสำคัญของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กประถมวัยโดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก 2.ได้รูปแบบการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ


⛤สื่อคณิตศาสตร์ ⛤

นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยี



คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆ ดังนี้
  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. การนับ
  7. การรู้จักตัวเลข
 1.การจำแนกประเภท
    การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน 

 2.การจัดหมวดหมู่    
    การจัดหมวดหมู่ คือ การรวมเอาสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือความคิด โดยจัดแยกประเภทตามคุณสมบัติของสิ่งเหล่านั้น แล้วนำสิ่งที่เหมือนกันมารวมกันและแยกสิ่งที่ต่างกันออกไป


 3.การเรียงลำดับ    การเรียงลำดับ คือ การจัดเรียงข้อมูลให้มีการเรียงลำดับตามความต้องการ โดยจะเป็นการเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย จากต่ำไปหาสูง หรือจากสูงไปหาต่ำ  



 4.การเปรียบเทียบ 
 5.รูปร่างและรูปทรง  

 5.การนับ
    การนับ คือ การกระทำทางคณิตศาสตร์โดยใช้การบวกหรือการลบด้วยหนึ่งซ้ำๆ กัน ซึ่งมักใช้ในการหาคำตอบว่ามีวัตถุอยู่เท่าใด หรือเพื่อกำหนดจำนวนวัตถุที่ต้องการ โดยเริ่มจากหนึ่งสำหรับวัตถุ  ชิ้นแรกและกระทำต่อไปบนวัตถุที่เหลือ 

 6.การรู้จักตัวเลข
  
 ตัวอย่างการสอนให้เด็กเรียนรู้ตัวเลขอารบิค 1 - 10
ดูเพิ่มเติมได้ที่http://technology2556.blogspot.com/2013/01/blog-post.html


⛤ตัวอย่างการสอน ⛤


สรุปตัวอย่างการสอน : เป็นการจับคู่ตัวเลขกับสิ่งของต่างๆเพื่อให้เด็กมีกระบวนการทางความคิดเพิ่มมากขึ้น

                        อ้างอิง : สาขาปฐมวัย สสวท.


เกมส์สำหรับรับเด็กปฐมวัย


https://www.youtube.com/watch?v=3wZIz2cM3Q8



สรุปเกมส์ : เป็นการนำสื่อมาเกี่ยวข้องกับการคิดเพื่อให้เด็กมีทักษะการคิดเพิ่มมากขึ้น
นิทานตัวเลข 
สรุปนิทาน : นิทานสามารถที่จะช่วยกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกระบวนการคิดทำให้เด็กสมารถที่จะคิดเป็นระบบ 
เพลงเด็กนับเลข
                               
https://www.youtube.com/watch?v=kQGSof8cjLw